วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์



มนุษย์จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน  เพื่อที่จะได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและเพื่อที่จะได้กระทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน สิ่งที่มนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนนั้นเนื่องมาจากมนุษย์มีภาษา   ศาสนา  วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน ในสมัยอดีตที่ผ่านมานั้นมนุษย์รวมกลุ่มกันเพื่อที่จะตั้งถิ่นฐานปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นจะมีการเลือกการตั้งถิ่นฐานในเขตที่ราบที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การดำรงชีพเป็นที่ก่อตั้งถิ่นฐาน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
           เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว และเกิดการรวบรวมกลุ่มเพื่อตั้งบ้านเรือนและจัดการกับสิ่งรอบตัวให้เหมาะกับการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานนั้นมีด้วยกัน 3 ประการดังนี้
1.ปัจจัยทางกายภาพ  สามารถแบ่งได้เป็น
1.1) โครงสร้างและระดับความสูงของพื้นที่  เขตที่ราบมีความเหมาะสมที่จะตั้งถิ่นฐานมากกว่าเขตที่สูงหรือภูเขา เนื่องจากลักษณะพื้นที่กว้างขวางราบเรียบทำให้สามารถเพาะปลูกได้สะดวก และมีดินอุดมสมบูรณ์
1.2) อากาศ มีผลโดยตรงต่อมนุษย์เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะดินและพืช สภาพของดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และวิถีการดำรงชีวิต
1.3) น้ำ มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานมาก โดยเฉพาะในสมัยโบราณการตั้งถิ่นฐานทุกแห่งเป็นการหาพื้นที่ที่จะทำการเกษตรด้วย น้ำที่ใช้ในการหาพื้นที่ที่จะทำการเกษตรด้วย น้ำที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมไม่จำเป็นต้องมาจากฝนหรือแหล่งน้ำลำธารแต่เพียงอย่างเดียว ในบางแห่งที่ขาดฝน อาจหาแหล่งน้ำอื่น ๆ มาใช้เพื่อการเกษตร เช่น น้ำบาดาล
2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม
        การที่มนุษย์เข้าครอบครองพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อการตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน มีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในถิ่นฐานเดียวกัน และระหว่างถิ่นฐานต่าง ๆ
การที่วิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันออกไปนั้น ซึ่งสามารถจะจำแนกได้เป็น
2.1) ภาษา โดยเฉพาะภาษาพูด ถือว่าเป็นตัวแทนของลักษณะวัฒนธรรม ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป
2.2) ศาสนา ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม ความเชื่อถือยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักของศาสนาเป็นหลักที่กำหนดวิถีชีวิตในท้องถิ่น สถานที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอาจทำให้ท้องถิ่นหนึ่งมีความสำคัญมากกว่าท้องถิ่นอื่น วัด โบสถ์ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทางศาสนา แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้น ๆ ศาสนาอาจมีอิทธิพลต่อการเกษตรกรรม การบริโภคอาหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจ
2.3) การเมือง อิทธิพลทางการเมืองมีผลต่อพื้นที่ตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินทำกิน
3.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
       การประกอบอาชีพของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมและระดับความเจริญทางเทคโนโลยี ใหม่ๆที่เข้า
3.1) การเพาะปลูก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แบบถาวรเริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักเพาะปลูกด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งผลิตผลตามธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว และการตั้งถิ่นฐานแบบถาวรนี้ มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมาก เช่น การทำไร่เลื่อนลอย
3.2) การเลี้ยงสัตว์ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค ไว้ใช้งาน และไว้ขาย ส่วนใหญ่จะทำในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
3.3) อุตสาหกรรม เป็นการนำผลิตผลมาดัดแปลงหรือแปรสภาพให้เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะซับซ้อน ในเนื้อที่น้อย ต้องใช้วัตถุดิบและเชื้อเพลิงจำนวนมากในการผลิต มีการใช้แรงงาน ตลอดจนต้องการความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง