วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชนิดของการเกษตรกรรมในประเทศไทย
การเกษตรกรรมไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด
เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์   คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร
หลักการเกษตรอินทรีย์
มีหลักการสำคัญอยู่ 4 ประการ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่
            มิติด้านสุขภาพ เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน
มิติด้านนิเวศวิทยา เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฏจักรแห่งธรรมชาติ 
 มิติด้านความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียม การเคารพ ความยุติธรรม และการมีส่วนในการปกปักพิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่
มิติด้านการดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ
เกษตรผสมผสาน
เกษตรผสมผสาน คือ ระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิด เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด
ลักษณะการเกษตรผสมผสาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
การปลูกพืชแบบผสมผสาน
เป็น การอาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างพืช สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศตามธรรมชาติมาจัดการและปรับใช้ในระบบการเกษตร
การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์
 การผสมผสานเป็นไปเช่นเดียวกับการผสมผสานระหว่างพืช เนื่องจากสัตว์ชนิดหนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสัตว์อีกชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้อง กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
เป็นรูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องกับสมดุลของแร่ธาตุพลังงาน และมีการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมการผลิตต่างๆ มากขึ้น
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่ คือ วิธีทำการเกษตรโดยประยุกต์ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการแบ่งพื้นที่และความสัมพันธ์ในการใช้ประโยชน์ ที่ดินกับการใช้น้ำเพื่อการเกษตรโดยยึดหลักการธรรมชาติมุ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
โดยจะมีการแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรออกเป็น 4ส่วน คือ หนึ่ง ขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30%  สอง ปลูกข้าว จำนวน 30%  สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น สี่ เป็นพื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อุตสาหกรรมสิ่งทอ
ภาพ แสดงการทำอุตสาหกรรมสิ่งทอในโรงงาน


อุตสาหกรรมประเภทสิ่งทอเป็นการผลิตที่มีต้นทุนในการผลิตเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานและวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นการพิจารณาเกี่ยวกับทำเลตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมใกล้แหล่งที่มีค่าจ้างแรงงานราคาถูก หรือว่าแหล่งวัตถุดิบที่ลดค่าขนส่งให้น้อยลง
องค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอ
1.ความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบ
2.แรงงานที่ใช้ในโรงงานราคาถูก
3.พลังงานที่หาได้ง่าย
4.น้ำ
5.การขนส่งที่ดี
6.ตลาด
แหล่งอุตสาหกรรมสิ่งทอของโลก
1.ประเทศอังกฤษ เป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอจากขนสัตว์ซึ่งมีลักษณะเด่นมาก
2.ประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองที่มีการทอผ้ามากที่สุดคือ ผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ผ้าลินิน และผ้าไหม
3.ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายที่มีตลาดกว้างมากในประเทศและมีผลผลิตส่วนเกินส่งเป็นสินค้าออก



อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
รูป แสดงการทำอุตสาหกรรมเหล็ก

อุตสาหกรรมเหล็กกล้า เป็นลักษณะของอุตสาหกรรมเหล็กที่สำคัญของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ซึ่งในปัจจุบันนี้เหล็กเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น การก่อสร้าง วิศวกรรม การคมนาคมขนส่ง และเครื่องใช้สอยต่างๆ เป็นต้น
ลักษณะการผลิตเหล็กกล้า
การผลิตเหล็กกล้า เป็นกระบวนการผลิตที่นำเศษเหล็กมาถลุง ทำให้จำนวนเหล็กหลอมที่ต้องการมีจำนวนน้อยลง ถ้าเกิดนำเหล็กหลอมมาละลายใหม่แล้วนำไปเทลงในแม่แบบ ให้มีรูปร่างต่างๆตามที่ต้องการ ซึ่งเหล็กกล้านั้นมีคุณสมบัติเป็นโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน มีความเหนียวและทนทานใช้สำหรับทำแหนบ สปริง และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเหล็กกล้า
1.วัตถุดิบ เช่น สินแร่เหล็ก
2.เชื้อเพลิง เช่น ถ่านหินและถ่านโค้ก
3.น้ำ
4.อากาศ
แหล่งผลิตเหล็กกล้าของโลก
1.ในสหรัฐอเมริกาสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 เขตคือ
-พิททัสเบริก
-ทะเลสาบทั้งห้า
-ย่านอุตสาหกรรมทางด้านตะวันตก
-เบอร์มิงแฮม
2.ญี่ปุ่น ได้เริ่มผลิตเหล็กกล้ามาได้ไม่นานมานี่เอง
3.จีน
4.อินเดีย



ที่มา

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสิ้นสุดของภูมิศาสตร์ภูมิภาค

ข้อเสียเปรียบของภูมิศาสตร์ภูมิภาค คือมีการยอมรับกันน้อยมากเกี่ยวกับลักษณะหรือแม้แต่วิธีการบันทึกในแต่ละตำรา เพราะว่าแม้แต่ตำราในประเทศฝรั่งเศสก็ยังคงมีความแตกต่างจากประเทศอังกฤษ ส่วนในเยอรมันก็ยังคงมีการโต้แย้งกันระหว่างผู้สนับสนุนตามแนวคิดของเฮตเนอร์และชลูเตอร์ ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ในช่วงปี 1939-1945 ก็สามารถถือได้ว่าเป็นช่วงพลิกผันของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ สงครามที่ขยายแผ่วงกว้างออกไปทั่วโลกตั้งแต่ยุโรปไปจนถึงเอเซียตะวันออกก็ทำให้เกิดโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆสำหรับนักภูมิศาสตร์ที่จะทำได้
นักภูมิศาสตร์ในช่วงสงคราม
สงครามสิ้นสุดในช่วงสำรวจทางภูมิศาสตร์ของเทเลอร์ได้บรรยายถึงความเฟื่องฟูของภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสงครามถึงความต้องการทางด้านแผนที่และรายละเอียดด้านข้อมูลข่าวสารของประเทศที่เป็นสมรภูมิ ในทางตรงกันข้ามกันของแอกเกอร์แมน ได้แย้งว่านักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันทำการสำรวจเพื่อผลทางการทหาร แต่ว่าผลงานที่ได้กลับมีข้อมูลที่สามารถใช้ในทางทหารได้ไม่มากนักกับพื้นที่ในส่วนอื่นๆของโลกยิ่งไปกว่านั้นคือความล้มเหลวของนักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันยังมีอุปสรรคของการหาข้อมูลทางด้านภาษา และขาดความเข้าใจในการศึกษาทั้งเชิงหัวข้อและเชิงระบบ ฮูโชเฟอร์มีความคิดเห็นทั้งทางด้านบวกและทางด้านลบต่อความคิดแบบสังคมนิยม คือจะสนับสนุนความคิดในการขยายอาณาเขตของเยอรมันและการก่อตั้งรัฐ Pan-German แต่ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นเรื่องเชื้อชาติของนาซี พาเตอร์สัน ได้ชี้ถึงปัญหาอื่นของการศึกษาภูมิศาสตร์ภูมิภาคไว้อีก 4 ประการคือ
-                   ความเป็นไปได้ตามหลักการที่จะสามารถใช้เพียงตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการอธิบายภูมิภาคให้ได้อย่างสมบูรณ์
-                   ปัญหาในการหาระดับที่เหมาะสมของการกำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไป
-                   ขาดการศึกษาในรายละเอียด
-                   มีข้อจำกัดถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นของการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในการศึกษาภูมิศาสตร์ภูมิภาค
ภูมิภาคกับการบรรยายลักษณะเฉพาะและกฎเกณฑ์ทั่วไป
ฮอลส์ มีข้อแย้งว่า ข้อสนับสนุนด้านความรู้ในทางภูมิศาสตร์กับภาพรวมของวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความคล้ายกัน คือ 1.การรับรองถึงเรื่องความแตกต่างในลักษณะต่างๆของภูมิประเทศ  2.ความแตกต่างกันของการแบ่งพื้นที่ที่มีลักษณะเหมือนกันตามระดับความมากน้อย ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภูมิศาสตร์ภูมิภาคที่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่นั้น เป็นเพราะรูปแบบของวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ที่ยอมรับมากกว่าโดยการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายมากกว่าการที่จะใช้การอธิบายเฉพาะกรณี แชเฟอร์ อ้างว่าภูมิศาสตร์ควรได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่ออธิบายถึงคุณลักษณะของพื้นผิวโลกในรูปแบบต่างๆ ที่มีความถูกต้องแน่นอน โดยวัตถุประสงค์นั้นแตกต่างกันกับของฮอร์ทชอร์น
การเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการของวิชาภูมิศาสตร์
ในช่วงที่สามของศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงศตวรรษที่นักภูมิศาสตร์กำลังแสวงหาหนทางในการสร้างแบบอย่างพื้นฐานเพื่อที่จะนำไปสู่โครงสร้างวิชาภูมิศาสตร์สมัยใหม่ จึงทำให้มีอิทธิพลเกิดขึ้นมากมายหลายมุมมองต่างๆจากชุมชนวิทยาสาสตร์ที่เกี่ยวทัศนคติ และความเห็นจากนักปฎิบัติจากสาขาวิชาอื่นๆเหล่านี้นำมาสู่ความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์เชิงวิชาการของการตีพิมพ์หนังสือ On the original of Species ของชาร์ล ดาร์วิน นับได้ว่ามีผลอย่างมากต่อความรู้และความคิดทางภูมิศาสตร์  ในขณะที่อิทธิพลทางความคิดทางด้านชีววิทยาทั้งหลายที่มีผลต่อแนวคิดทางภูมิศาสตร์ของชาร์ล ดาร์วิน ในช่วงศตวรรษที่ 20 นับได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ก็เลยทำให้นักภูมิสาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19 หลายคนได้เลือกสรรเอาเฉพาะส่วนของแนวคิดของดาร์วินที่ได้นำเสนอไว้มาประกอบในเนื้อหาสาระของวิชาการใหม่ของพวกเขา เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวิจัยและการเรียนการสอนในรายวิชาภูมิศาสตร์ 3 ประเด็นหลักคือ
-                   ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
-                   ความเข้าใจกระบวนการกายภาพ
-                   การใช้ภูมิภาคเป็นกรอบวิชาภูมิศาสตร์
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมของช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เริ่มศตวรรษที่ 20 วิชาภูมิศาสตร์ได้นำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเข้ามา โดยเน้นแนวคิดอยู่  2 แนวคิดหลักคือ 1.แนวคิดยอมรับว่าสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนด 2.แนวคิดยอมรับว่าสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นไปได้ การแบ่งภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ที่มีการซ้อนทับของสิ่งต่างๆ ที่นักภูมิศาสตร์และนักธรณีวิทยาให้ความสนใจ ได้มีการสร้างความกระจ่างชัดขึ้นมาทั้งในสหราชอาณาจักรและในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการแบ่งแยกที่ตายตัวไม่ยืดหยุ่นระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพกับภูมิศาสตร์ทางด้านมนุษย์ได้รับการจัดการให้เกิดความกระจ่างชัดเพิ่มมากขึ้น โดยมีนายกสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน คือ ฮาร์ลาน เฮชบาร์โรวส์ ได้กล่าวนำต่อสมาชิกของสมาคมเมื่อปี ค.. 1922 ว่าภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยามนุษย์ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแสดงความสัมพันธ์อันชัดเจนระหว่างสิ่งแวดล้อมธรรมชาติกับการกระจายตัวของกิจกรรมมนุษย์ จากการกล่าวครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงการแยกออกจากภูมิศาสตร์กายภาพได้โดยสิ้นเชิง สำหรับภูมิภาคนั้นเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการวิเคราะห์และค้นหาคำตอบทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นความพยายามอย่างมากของซาวเออร์ที่จะนำเอาภูมิศาสตร์ทางด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ทางด้านมนุษย์มารวมกัน โดยการเรียนวิชาภูมิทัศน์ แนวทางการศึกษาภูมิศาสตร์ภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในยุโรปในช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 นั้นเป็นภูมิศาสตร์ภูมิภาคที่มีความหลากหลายในระหว่างประเทศและเป็นเวลาที่ยาวนาน และสุดท้ายคือบริบทเชิงสถาบันของวิชาภูมิศาสตร์ที่ก่อตั้งตามแบบของวาเรนเนียสในศตวรรษที่ 17 มีประเด็นหลักที่สำคัญ 3 ประการคือ      - การบรรยายเชิงภูมิภาค
-                   ลักษณะของภูมิศาสตร์ในฐานะวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง
-                   การสร้างกรอบแนวคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสิ่งแวดล้อม
วิชาภูมิศาสตร์ทั้งหมดจะประสบความสำเร็จก้าวหน้าไปทุกอย่างแต่ว่าภูมิศาสตร์ภูมิภาคก็กลับต้องเผชิญกับปัญหาอย่างหลากหลาย ซึ่งในส่วนใหญ่จะระบุว่าภูมิศาสตร์ภูมิภาคมีความล้มเหลวในการกำหนดสถานะสำหรับศึกษาภูมิศาสตร์เชิงระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของวิชาภูมิศาสตร์กายภาพที่มีการบรรยายออกห่างไปจากวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ

ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/punnapa/socal/new_page_5.htm

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเกษตรกรรมเพื่อการค้า



การเกษตรกรรมเพื่อการค้ามีปัจจัยที่สนับสนุนอยู่ 3 ประการคือ

1.ปัจจัยทางด้านกายภาพ ได้แก่

     1.1 ด้านบรรยากาศภาค ซึ่งได้แก่ ภูมิอากาศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญมากในการทำกิจกรรมด้านการเกษตร เพราะจะเป็นตัวสำคัญในการจำแนกชนิดของการเกษตรในแต่ละพื้นที่ ภูมิอากาศยังประกอบประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
               - อุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตในพืช
               - ปริมาณน้ำฝน พืชในแต่ละประเภทมีความต้องการปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกัน
               - ลม
     1.2 ด้านธรณีภาค ซึ่งได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ความสูง ความลาดชันและความทุรกันดารของแต่ละพื้นที่ล้วนแล้วแต่มีอุปสรรคต่อการทำเกษตรทั้งนั้น
     1.3 เนื้อดิน ประกอบไปด้วยอินทรีย์วัตถุและแร่ธาตุต่างๆ แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ในการทำการเกษตร
     1.4 การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของกิจกรรมการเกษตรในแต่ละประเภท
     1.5 ด้านชีวมณฑล การเพาะปลูกพืชในแต่ละชนิดอาจถูกรบกวนจากวัชพืช แมลง ซึ่งทำให้พืชผลได้รับความเสียหายก่อนการเก็บเกี่ยวได้

2.ปัจจัยทางสังคม ซึงเป็นค่านิยมทางสังคมที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมาของการทำการเกษตรกรรม ได้แก่
               - รูปแบบการเพาะปลูก
               - ชนิดของพืชที่จะนำมาเพาะปลูก
               - การถือครองที่ดิน
               - ชนิดของสัตว์เลี้ยงและลักษณะของการเลี้ยงสัตว์

3.ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ จะประกอบไปด้วย
               - ด้านราคาของผลผลิตทางการเกษตร เป็นตัวส่งเสริมการผลิตที่สำคัญ
               - ด้านการตลาด เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร
               - นโยบายของรัฐ การผลิตจะมีประสิทธิภาพและได้ผลดี หรือบางครั้งอาจจะได้รับผลกระทบ ย่อมขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากรัฐบาลในด้าน เงินลงทุนช่วยเหลือ และการประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น



แหล่งที่มา
http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=183&s=tblplant