วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย


ในประเทศไทยสำหรับที่อยู่อาศัยถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการดำรงชีวิต ซึ่งลักษณะของที่อยู่อาศัยของสังคมไทยก็จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมความเชื่อถือต่างๆ
สำหรับคนไทยส่วนใหญ่นั้นจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะต้องมีความจำเป็นอาศัยน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกพืชและอุปโภคบริโภค ตลอดจนมีความสำคัญทางด้านการคมนาคมขนส่ง เพราะที่ผ่านมาในอดีตเส้นทางที่สะดวกที่สุดในการคมนาคมขนส่งก็คือ ทางน้ำ เพราะฉะนั้นจึงมีการรวมกลุ่มการตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านเกิดขึ้นตามบริเวณริมแม่น้ำ ลำคลอง หรือในบางครั้งก็เกิดหมู่บ้านขึ้นบริเวณริมทางที่คนเดินทางสัญจรไปมา เพราะในสมัยแต่ก่อนนั้นจะเป็นลักษณะทางเกวียนซึ่งมี ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นตัวลากจูง แต่สำหรับการเดินทางนั้นค่อนข้างใช้เวลามากพอสมควร ไม่สามารถเดินทางไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทางได้ภายในวันเดียวก็เลยต้องมีการพักแรม ซึ่งในบริเวณที่พักแรมนั้นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นจะมาปลูกเพิงสำหรับขายของให้แก่ผู้ที่สัญจรผ่านไปมา  และเวลาต่อมามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็กลายเป็นหมู่บ้านเกิดขึ้น โดยมีสภาพภูมิทัศน์ด้านหลังของหมู่บ้านนั้นๆก็จะเป็นพื้นที่ไร่ นา เหมือนกับหมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง ในบางพื้นที่นั้นหมู่บ้านอาจจะอยู่ไกลจากแม่น้ำลำคลอง แต่มีพื้นที่เป็นพื้นที่ดอน ชาวบ้านมักจะสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในบริเวณนั้น แต่จะมีพื้นที่นาอยู่ห่างไกลออกไป ในหมู่บ้านนั้นอาจจะมีสระน้ำ หรือบึงน้ำ บ่อน้ำ ไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค ส่วนน้ำที่จะนำมาใช้ในการทำเกษตรนั้นจะอาศัยจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว และลักษณะของการตั้งหมู่บ้านของประเทศไทยอีกประเภทหนึ่งก็คือ เป็นการตั้งหมู่บ้านที่เกิดจากการรวมตัวกันของบ้านเรือนหลายๆหลัง ซึ่งแต่ละหลังนั้นจะอยู่ห่างไกลกันออกไป บ้านเรือนส่วนใหญ่นั้นมักจะตั้งอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่ไร่นาของตนเอง
เพราะฉะนั้นหมู่บ้านในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1.หมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง
2.หมู่บ้านริมเส้นทางคมนาคม
3.หมู่บ้านแบบรวมกลุ่ม
4.หมู่บ้านแบบกระจัดกระจาย

ที่มา: http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2547/475102/03-1.html

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic)

คำว่า เศรษฐกิจ นั้นหมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกผู้ทุกคน ซึ่งจะประกอบไปด้วย การผลิต (Production) การแลกเปลี่ยน (Exchange) การบริโภค  (consumption) และการกระจาย (Distribution)  โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วทำธุรกิจการค้าเพื่อมุ่งหวังการมีกำไร รายได้ จึงก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจขึ้นมา ทุกคนต้องทำหน้าที่เพื่อการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ด้วยกันเอง ซึ่งเป็นความต้องการแบบที่ไม่จำกัดขอบเขตในขณะที่สินค้าและบริการต่างๆที่มนุษย์ต้องการนั้นมีอยู่จำนวนจำกัด
ดังนั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activity) ประกอบไปด้วยคือ
1.การผลิต (production) เป็นการกระทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตขึ้นมานั้นจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มีอยู่ 2 ประเภท คือ ทรัพย์เสรี สินค้าสาธารณะ (Public goods) หรือสินค้าเสรีที่ได้เปล่า (free goods)
ขั้นตอนการผลิตนี้สามารถแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอนดังนี้
                1.1การผลิตขั้นต้น (Primary production) เป็นขั้นตอนการผลิตที่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากธรรมชาติโดยไม่มีการดัดแปลหรือแปรสภาพ เช่น การทำเกษตร ทำป่าไม้ เป็นต้น
                1.2การผลิตที่สอง (Secondary production) เป็นกิจกรรมการผลิตที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าของวัตถุดิบที่ได้จากการผลิตขั้นต้น เพื่อให้มีคุณค่า และราคาสูงขึ้น
                1.3 การผลิตขั้นที่สาม(Tertiary production) เป็นกิจกรรมการให้บริการที่จะช่วยให้การจำหน่ายจ่ายแจกผลผลิตที่เกิดจากขั้นต้นและขั้นที่สองไปสู่มือผู้บริโภค ซึ่งต้องอาศัยการคมนาคมขนส่งเป็นตัวกลาง
2.การแลกเปลี่ยน (exchange) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
                /2.1 การแลกเปลี่ยนสถานที่  จะทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนสถานที่ในการแลกเปลี่ยน
                2.2 การแลกเปลี่ยนเจ้าของ มูลค่าของสินค้าจะเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการเป็นเจ้าของสินค้า เช่น การค้าปลีก การค้าส่ง เป็นต้น
3. การกระจาย(Distribution)  คือ การจำหน่ายสินค้า หรือบริการที่ผลิตขึ้นมาไปยังผู้บริโภค และการนำรายได้จากการจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าหรือบริการนั้นๆ มาแบ่งสรรให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิตที่มีส่วนร่วมในการผลิต
 สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.             การกระจายสินค้าบริการ จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
2.             การกระจายรายได้ ให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิต
4.การบริโภค (consumption) เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจขั้นตอนสุดท้ายคือเป็นการใช้สินค้าและบริการตามความพึงพอใจของผู้บริโภคในแต่ละคน  สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
                4.1 การบริโภคโดยตรง คือ ตอบสนองความต้องการของร่างกาย
                4.2 การบริโภคทางจิตใจ คือ การบริโภคตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจ
                4.3 การบริโภคทางอ้อม คือ การนำสินค้าและบริการไปสู่การผลิตอักกระบวนการหนึ่งซางจะสามารถนำมาตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจได้
แหล่งที่มา

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/sociology/10000-5602.html

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์



มนุษย์จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน  เพื่อที่จะได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและเพื่อที่จะได้กระทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน สิ่งที่มนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนนั้นเนื่องมาจากมนุษย์มีภาษา   ศาสนา  วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน ในสมัยอดีตที่ผ่านมานั้นมนุษย์รวมกลุ่มกันเพื่อที่จะตั้งถิ่นฐานปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นจะมีการเลือกการตั้งถิ่นฐานในเขตที่ราบที่มีพื้นที่กว้างขวาง มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การดำรงชีพเป็นที่ก่อตั้งถิ่นฐาน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
           เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว และเกิดการรวบรวมกลุ่มเพื่อตั้งบ้านเรือนและจัดการกับสิ่งรอบตัวให้เหมาะกับการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานนั้นมีด้วยกัน 3 ประการดังนี้
1.ปัจจัยทางกายภาพ  สามารถแบ่งได้เป็น
1.1) โครงสร้างและระดับความสูงของพื้นที่  เขตที่ราบมีความเหมาะสมที่จะตั้งถิ่นฐานมากกว่าเขตที่สูงหรือภูเขา เนื่องจากลักษณะพื้นที่กว้างขวางราบเรียบทำให้สามารถเพาะปลูกได้สะดวก และมีดินอุดมสมบูรณ์
1.2) อากาศ มีผลโดยตรงต่อมนุษย์เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะดินและพืช สภาพของดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และวิถีการดำรงชีวิต
1.3) น้ำ มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานมาก โดยเฉพาะในสมัยโบราณการตั้งถิ่นฐานทุกแห่งเป็นการหาพื้นที่ที่จะทำการเกษตรด้วย น้ำที่ใช้ในการหาพื้นที่ที่จะทำการเกษตรด้วย น้ำที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมไม่จำเป็นต้องมาจากฝนหรือแหล่งน้ำลำธารแต่เพียงอย่างเดียว ในบางแห่งที่ขาดฝน อาจหาแหล่งน้ำอื่น ๆ มาใช้เพื่อการเกษตร เช่น น้ำบาดาล
2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม
        การที่มนุษย์เข้าครอบครองพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อการตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน มีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติ และยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในถิ่นฐานเดียวกัน และระหว่างถิ่นฐานต่าง ๆ
การที่วิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันออกไปนั้น ซึ่งสามารถจะจำแนกได้เป็น
2.1) ภาษา โดยเฉพาะภาษาพูด ถือว่าเป็นตัวแทนของลักษณะวัฒนธรรม ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป
2.2) ศาสนา ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม ความเชื่อถือยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักของศาสนาเป็นหลักที่กำหนดวิถีชีวิตในท้องถิ่น สถานที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอาจทำให้ท้องถิ่นหนึ่งมีความสำคัญมากกว่าท้องถิ่นอื่น วัด โบสถ์ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทางศาสนา แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้น ๆ ศาสนาอาจมีอิทธิพลต่อการเกษตรกรรม การบริโภคอาหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจ
2.3) การเมือง อิทธิพลทางการเมืองมีผลต่อพื้นที่ตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินทำกิน
3.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
       การประกอบอาชีพของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมและระดับความเจริญทางเทคโนโลยี ใหม่ๆที่เข้า
3.1) การเพาะปลูก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แบบถาวรเริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักเพาะปลูกด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งผลิตผลตามธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว และการตั้งถิ่นฐานแบบถาวรนี้ มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมาก เช่น การทำไร่เลื่อนลอย
3.2) การเลี้ยงสัตว์ สามารถแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค ไว้ใช้งาน และไว้ขาย ส่วนใหญ่จะทำในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
3.3) อุตสาหกรรม เป็นการนำผลิตผลมาดัดแปลงหรือแปรสภาพให้เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะซับซ้อน ในเนื้อที่น้อย ต้องใช้วัตถุดิบและเชื้อเพลิงจำนวนมากในการผลิต มีการใช้แรงงาน ตลอดจนต้องการความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง