วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

การตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย


ในประเทศไทยสำหรับที่อยู่อาศัยถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการดำรงชีวิต ซึ่งลักษณะของที่อยู่อาศัยของสังคมไทยก็จะมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมความเชื่อถือต่างๆ
สำหรับคนไทยส่วนใหญ่นั้นจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะต้องมีความจำเป็นอาศัยน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะปลูกพืชและอุปโภคบริโภค ตลอดจนมีความสำคัญทางด้านการคมนาคมขนส่ง เพราะที่ผ่านมาในอดีตเส้นทางที่สะดวกที่สุดในการคมนาคมขนส่งก็คือ ทางน้ำ เพราะฉะนั้นจึงมีการรวมกลุ่มการตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านเกิดขึ้นตามบริเวณริมแม่น้ำ ลำคลอง หรือในบางครั้งก็เกิดหมู่บ้านขึ้นบริเวณริมทางที่คนเดินทางสัญจรไปมา เพราะในสมัยแต่ก่อนนั้นจะเป็นลักษณะทางเกวียนซึ่งมี ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นตัวลากจูง แต่สำหรับการเดินทางนั้นค่อนข้างใช้เวลามากพอสมควร ไม่สามารถเดินทางไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทางได้ภายในวันเดียวก็เลยต้องมีการพักแรม ซึ่งในบริเวณที่พักแรมนั้นชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นจะมาปลูกเพิงสำหรับขายของให้แก่ผู้ที่สัญจรผ่านไปมา  และเวลาต่อมามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็กลายเป็นหมู่บ้านเกิดขึ้น โดยมีสภาพภูมิทัศน์ด้านหลังของหมู่บ้านนั้นๆก็จะเป็นพื้นที่ไร่ นา เหมือนกับหมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง ในบางพื้นที่นั้นหมู่บ้านอาจจะอยู่ไกลจากแม่น้ำลำคลอง แต่มีพื้นที่เป็นพื้นที่ดอน ชาวบ้านมักจะสร้างบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในบริเวณนั้น แต่จะมีพื้นที่นาอยู่ห่างไกลออกไป ในหมู่บ้านนั้นอาจจะมีสระน้ำ หรือบึงน้ำ บ่อน้ำ ไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค ส่วนน้ำที่จะนำมาใช้ในการทำเกษตรนั้นจะอาศัยจากน้ำฝนเพียงอย่างเดียว และลักษณะของการตั้งหมู่บ้านของประเทศไทยอีกประเภทหนึ่งก็คือ เป็นการตั้งหมู่บ้านที่เกิดจากการรวมตัวกันของบ้านเรือนหลายๆหลัง ซึ่งแต่ละหลังนั้นจะอยู่ห่างไกลกันออกไป บ้านเรือนส่วนใหญ่นั้นมักจะตั้งอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมหรือพื้นที่ไร่นาของตนเอง
เพราะฉะนั้นหมู่บ้านในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1.หมู่บ้านริมแม่น้ำลำคลอง
2.หมู่บ้านริมเส้นทางคมนาคม
3.หมู่บ้านแบบรวมกลุ่ม
4.หมู่บ้านแบบกระจัดกระจาย

ที่มา: http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2547/475102/03-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น