วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการของวิชาภูมิศาสตร์
ในช่วงที่สามของศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงศตวรรษที่นักภูมิศาสตร์กำลังแสวงหาหนทางในการสร้างแบบอย่างพื้นฐานเพื่อที่จะนำไปสู่โครงสร้างวิชาภูมิศาสตร์สมัยใหม่ จึงทำให้มีอิทธิพลเกิดขึ้นมากมายหลายมุมมองต่างๆจากชุมชนวิทยาสาสตร์ที่เกี่ยวทัศนคติ และความเห็นจากนักปฎิบัติจากสาขาวิชาอื่นๆเหล่านี้นำมาสู่ความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์เชิงวิชาการของการตีพิมพ์หนังสือ On the original of Species ของชาร์ล ดาร์วิน นับได้ว่ามีผลอย่างมากต่อความรู้และความคิดทางภูมิศาสตร์  ในขณะที่อิทธิพลทางความคิดทางด้านชีววิทยาทั้งหลายที่มีผลต่อแนวคิดทางภูมิศาสตร์ของชาร์ล ดาร์วิน ในช่วงศตวรรษที่ 20 นับได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ก็เลยทำให้นักภูมิสาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19 หลายคนได้เลือกสรรเอาเฉพาะส่วนของแนวคิดของดาร์วินที่ได้นำเสนอไว้มาประกอบในเนื้อหาสาระของวิชาการใหม่ของพวกเขา เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวิจัยและการเรียนการสอนในรายวิชาภูมิศาสตร์ 3 ประเด็นหลักคือ
-                   ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
-                   ความเข้าใจกระบวนการกายภาพ
-                   การใช้ภูมิภาคเป็นกรอบวิชาภูมิศาสตร์
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมของช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เริ่มศตวรรษที่ 20 วิชาภูมิศาสตร์ได้นำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเข้ามา โดยเน้นแนวคิดอยู่  2 แนวคิดหลักคือ 1.แนวคิดยอมรับว่าสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนด 2.แนวคิดยอมรับว่าสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นไปได้ การแบ่งภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ที่มีการซ้อนทับของสิ่งต่างๆ ที่นักภูมิศาสตร์และนักธรณีวิทยาให้ความสนใจ ได้มีการสร้างความกระจ่างชัดขึ้นมาทั้งในสหราชอาณาจักรและในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการแบ่งแยกที่ตายตัวไม่ยืดหยุ่นระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพกับภูมิศาสตร์ทางด้านมนุษย์ได้รับการจัดการให้เกิดความกระจ่างชัดเพิ่มมากขึ้น โดยมีนายกสมาคมนักภูมิศาสตร์อเมริกัน คือ ฮาร์ลาน เฮชบาร์โรวส์ ได้กล่าวนำต่อสมาชิกของสมาคมเมื่อปี ค.. 1922 ว่าภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยามนุษย์ ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแสดงความสัมพันธ์อันชัดเจนระหว่างสิ่งแวดล้อมธรรมชาติกับการกระจายตัวของกิจกรรมมนุษย์ จากการกล่าวครั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงการแยกออกจากภูมิศาสตร์กายภาพได้โดยสิ้นเชิง สำหรับภูมิภาคนั้นเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการวิเคราะห์และค้นหาคำตอบทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นความพยายามอย่างมากของซาวเออร์ที่จะนำเอาภูมิศาสตร์ทางด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ทางด้านมนุษย์มารวมกัน โดยการเรียนวิชาภูมิทัศน์ แนวทางการศึกษาภูมิศาสตร์ภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นในยุโรปในช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 นั้นเป็นภูมิศาสตร์ภูมิภาคที่มีความหลากหลายในระหว่างประเทศและเป็นเวลาที่ยาวนาน และสุดท้ายคือบริบทเชิงสถาบันของวิชาภูมิศาสตร์ที่ก่อตั้งตามแบบของวาเรนเนียสในศตวรรษที่ 17 มีประเด็นหลักที่สำคัญ 3 ประการคือ      - การบรรยายเชิงภูมิภาค
-                   ลักษณะของภูมิศาสตร์ในฐานะวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง
-                   การสร้างกรอบแนวคิดเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับสิ่งแวดล้อม
วิชาภูมิศาสตร์ทั้งหมดจะประสบความสำเร็จก้าวหน้าไปทุกอย่างแต่ว่าภูมิศาสตร์ภูมิภาคก็กลับต้องเผชิญกับปัญหาอย่างหลากหลาย ซึ่งในส่วนใหญ่จะระบุว่าภูมิศาสตร์ภูมิภาคมีความล้มเหลวในการกำหนดสถานะสำหรับศึกษาภูมิศาสตร์เชิงระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของวิชาภูมิศาสตร์กายภาพที่มีการบรรยายออกห่างไปจากวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ

ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/punnapa/socal/new_page_5.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น