วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชนิดของการเกษตรกรรมในประเทศไทย
การเกษตรกรรมไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด
เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์   คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร
หลักการเกษตรอินทรีย์
มีหลักการสำคัญอยู่ 4 ประการ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่
            มิติด้านสุขภาพ เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน
มิติด้านนิเวศวิทยา เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฏจักรแห่งธรรมชาติ 
 มิติด้านความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียม การเคารพ ความยุติธรรม และการมีส่วนในการปกปักพิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่
มิติด้านการดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ
เกษตรผสมผสาน
เกษตรผสมผสาน คือ ระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชและมีการเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมการผลิตแต่ละชนิด เกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาอย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด
ลักษณะการเกษตรผสมผสาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
การปลูกพืชแบบผสมผสาน
เป็น การอาศัยหลักการความสัมพันธ์ระหว่างพืช สิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศตามธรรมชาติมาจัดการและปรับใช้ในระบบการเกษตร
การผสมผสานการเลี้ยงสัตว์
 การผสมผสานเป็นไปเช่นเดียวกับการผสมผสานระหว่างพืช เนื่องจากสัตว์ชนิดหนึ่งจะมีความสัมพันธ์กับสัตว์อีกชนิดหนึ่งและเกี่ยวข้อง กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
การปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์
เป็นรูปแบบการเกษตรที่สอดคล้องกับสมดุลของแร่ธาตุพลังงาน และมีการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมการผลิตต่างๆ มากขึ้น
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่ คือ วิธีทำการเกษตรโดยประยุกต์ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการแบ่งพื้นที่และความสัมพันธ์ในการใช้ประโยชน์ ที่ดินกับการใช้น้ำเพื่อการเกษตรโดยยึดหลักการธรรมชาติมุ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
โดยจะมีการแบ่งพื้นที่ทางการเกษตรออกเป็น 4ส่วน คือ หนึ่ง ขุดสระกักเก็บน้ำ จำนวน 30%  สอง ปลูกข้าว จำนวน 30%  สาม ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น สี่ เป็นพื้นที่ที่ใช้สร้างสิ่งปลูกสร้างเช่น ที่อยู่อาศัย โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ฉาง จำนวน 10% ของพื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น