วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสิ้นสุดของภูมิศาสตร์ภูมิภาค

ข้อเสียเปรียบของภูมิศาสตร์ภูมิภาค คือมีการยอมรับกันน้อยมากเกี่ยวกับลักษณะหรือแม้แต่วิธีการบันทึกในแต่ละตำรา เพราะว่าแม้แต่ตำราในประเทศฝรั่งเศสก็ยังคงมีความแตกต่างจากประเทศอังกฤษ ส่วนในเยอรมันก็ยังคงมีการโต้แย้งกันระหว่างผู้สนับสนุนตามแนวคิดของเฮตเนอร์และชลูเตอร์ ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ในช่วงปี 1939-1945 ก็สามารถถือได้ว่าเป็นช่วงพลิกผันของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ สงครามที่ขยายแผ่วงกว้างออกไปทั่วโลกตั้งแต่ยุโรปไปจนถึงเอเซียตะวันออกก็ทำให้เกิดโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายๆสำหรับนักภูมิศาสตร์ที่จะทำได้
นักภูมิศาสตร์ในช่วงสงคราม
สงครามสิ้นสุดในช่วงสำรวจทางภูมิศาสตร์ของเทเลอร์ได้บรรยายถึงความเฟื่องฟูของภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสงครามถึงความต้องการทางด้านแผนที่และรายละเอียดด้านข้อมูลข่าวสารของประเทศที่เป็นสมรภูมิ ในทางตรงกันข้ามกันของแอกเกอร์แมน ได้แย้งว่านักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันทำการสำรวจเพื่อผลทางการทหาร แต่ว่าผลงานที่ได้กลับมีข้อมูลที่สามารถใช้ในทางทหารได้ไม่มากนักกับพื้นที่ในส่วนอื่นๆของโลกยิ่งไปกว่านั้นคือความล้มเหลวของนักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันยังมีอุปสรรคของการหาข้อมูลทางด้านภาษา และขาดความเข้าใจในการศึกษาทั้งเชิงหัวข้อและเชิงระบบ ฮูโชเฟอร์มีความคิดเห็นทั้งทางด้านบวกและทางด้านลบต่อความคิดแบบสังคมนิยม คือจะสนับสนุนความคิดในการขยายอาณาเขตของเยอรมันและการก่อตั้งรัฐ Pan-German แต่ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นเรื่องเชื้อชาติของนาซี พาเตอร์สัน ได้ชี้ถึงปัญหาอื่นของการศึกษาภูมิศาสตร์ภูมิภาคไว้อีก 4 ประการคือ
-                   ความเป็นไปได้ตามหลักการที่จะสามารถใช้เพียงตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการอธิบายภูมิภาคให้ได้อย่างสมบูรณ์
-                   ปัญหาในการหาระดับที่เหมาะสมของการกำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไป
-                   ขาดการศึกษาในรายละเอียด
-                   มีข้อจำกัดถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นของการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในการศึกษาภูมิศาสตร์ภูมิภาค
ภูมิภาคกับการบรรยายลักษณะเฉพาะและกฎเกณฑ์ทั่วไป
ฮอลส์ มีข้อแย้งว่า ข้อสนับสนุนด้านความรู้ในทางภูมิศาสตร์กับภาพรวมของวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความคล้ายกัน คือ 1.การรับรองถึงเรื่องความแตกต่างในลักษณะต่างๆของภูมิประเทศ  2.ความแตกต่างกันของการแบ่งพื้นที่ที่มีลักษณะเหมือนกันตามระดับความมากน้อย ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภูมิศาสตร์ภูมิภาคที่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่นั้น เป็นเพราะรูปแบบของวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ที่ยอมรับมากกว่าโดยการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายมากกว่าการที่จะใช้การอธิบายเฉพาะกรณี แชเฟอร์ อ้างว่าภูมิศาสตร์ควรได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่ออธิบายถึงคุณลักษณะของพื้นผิวโลกในรูปแบบต่างๆ ที่มีความถูกต้องแน่นอน โดยวัตถุประสงค์นั้นแตกต่างกันกับของฮอร์ทชอร์น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น